ไม่ใช่แค่การดีไซน์อาคารที่สถาปนิกหรือนักออกแบบมักจะมีปัญหาและข้อสงสัยกวนใจ การดีไซน์ฟาซาดอาคารก็เป็นอีกหนึ่งงานที่ทำให้เหล่านักออกแบบปวดหัวได้เหมือนกัน เพราะฟาซาดเป็นงานที่ต้องเตรียมการอย่างละเอียดรอบคอบที่สุด มีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่สามารถมองข้ามได้ ถ้าเกิดออกแบบไม่ดี เลือกวัสดุไม่เหมาะหรือมีดีเทลการติดตั้งไม่ครอบคลุม ก็ส่งผลให้ฟาซาดอาคารเกิดข้อผิดพลาดที่หน้างานและอาจส่งผลในระยะยาวได้

เพื่อให้เหล่าสถาปนิกและนักออกแบบสามารถดีไซน์งานฟาซาดต่อ ๆ ไปอย่างลื่นไหลไม่ติดขัดปัญหา วันนี้ DECAAR by SCG จึงได้รวบรวมคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญด้านงานฟาซาดมาตอบทุกคำถามสำคัญให้แล้ว


ปัญหาที่เหล่านักออกแบบมักเจอ เมื่อต้องดีไซน์งานฟาซาด

ปัญหาใหญ่สุดที่นักออกแบบมักเจอคือการเลือกใช้วัสดุ เพราะนักออกแบบมักนึกภาพงานฟาซาดไว้ ว่าอยากได้ Mood & Tone / Pattern /Texture และบรรยากาศแบบนี้ ซึ่งต้องคัดสรรว่าใช้วัสดุตัวไหนถึงจะได้รูปลักษณ์ตามดีไซน์ที่คิดไว้หรือใกล้เคียงมากที่สุด โดยสอดคล้องกับงบประมาณ ความเหมาะสมในการใช้งานของอาคารนั้นๆ ซึ่งมีบริบทที่แตกต่างกันในแต่ละที่ ในขั้นตอนนี้อาจต้องใช้เวลามากกว่าที่ควรจะเป็นในการหาวัสดุจากแหล่งต่างๆ

และปัญหาต่อมาที่เจอบ่อย ๆ ก็คือ เมื่อสเปควัสดุไปแล้ว ต้องการออกแบบ Detail การต่อแผ่น, แนวจบงาน และต้องการความรู้เพิ่มเติม ต้องการลงรายละเอียดให้มากที่สุดในระยะเวลาที่จำกัด บางกรณีไม่สามารถหาจากในอินเทอร์เนตได้

รวมถึงเมื่อนำไปติดตั้งจริงที่หน้างาน บางครั้งพบปัญหาว่า ช่างไม่ใช่ช่างเฉพาะทางหรือเคยติดตั้งวัสดุประเภทนี้มาก่อน อาจจะทำให้ชิ้นงานเสียหายและควบคุมเวลาในการทำงานไม่ได้
 


แต่เราสามารถหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาเหล่านี้ได้เพียงแค่เลือกใช้วัสดุจากแหล่งที่มีตัวเลือกให้เลือกหลากหลาย มีทีมผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา ช่วยเลือกวัสดุที่ตอบโจทย์งาน งบประมาณ และคอยดูแลด้านการติดตั้งอย่างครอบคลุม งานฟาซาดก็จะออกมาดูดี สวยงามไร้ที่ติ
 


เคล็ดลับการเลือกวัสดุให้เข้ากับดีไซน์ของฟาซาด

การเลือกวัสดุให้เข้ากับดีไซน์งานฟาซาดนั้น ต้องเริ่มดูตั้งแต่ Design Concept ที่วางไว้ ต้องการสื่อสารเรื่องอะไรลงไปบน Facade ต้องการ Function และ Mood & Tone อย่างไร เช่น ต้องการให้อาคารล้อไปกับความเป็นธรรมชาติ สัมผัสถึงความงามของธรรมชาติอย่างใกล้ชิด วัสดุประเภท Touch of Nature จึงถูกหยิบยกมาใช้ร่วมกับอาคารสมัยใหม่ที่นอกจากการใกล้ชิดธรรมชาติแล้วยังสามารถดูแลรักษาง่ายอีกด้วย
 


สถาปนิกที่ต้องการเพิ่มดีเทลของงานออกแบบให้มากขึ้น ด้วยการเล่นมิติของแสงที่ส่องกระทบอาคารควรเลือกวัสดุประเภท Living with Pattern เพราะสามารถทำให้เกิดดีเทลกับ Facade อย่างไม่น่าเชื่อจากเงาที่ตกกระทบร่อง ทำให้ในแต่ละช่วงเวลาเกิดมิติ และความรู้สึกที่แตกต่างกัน
 


สถาปนิกที่ต้องการความเรียบของพื้นผิว แต่ยังดูแตกต่างในด้าน Texture และผิวสัมผัสของอาคารที่ร้อยเรียงกันอย่างเป็นระเบียบแต่แตกต่างที่ผิวสัมผัสที่โดดเด่น เผยถึงเนื้อแท้ของวัสดุ เลือก Keep it Simple
 


สถาปนิกที่ต้องการ Facade ที่บังตาเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับเจ้าของอาคาร แต่ยังต้องการระบายอากาศได้ดี ก็ต้องเป็นวัสดุกึ่งทึบกึ่งโปร่ง ประเภท Elements of Light & Shadow มีช่องเปิดและพื้นที่ว่างระหว่างผนังหลักกับฟาซาดตกแต่ง หรือ double skin facade นั่นเอง ไม่ว่าเป็นในรูปแบบระแนง หรือฟาซาดฉลุลวดลาย เป็นต้น

สื่อฟาซาดที่โดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ ก็จะเป็นผู้ช่วยถ่ายทอดภาษาทางสถาปัตยกรรมออกมาได้ดี และตรง Concept ที่ตั้งใจไว้ ควบคู่ไป Function การใช้งานและคุณสมบัติที่เหมาะสมของวัสดุอีกด้วย
 


เทคนิคและวิธีการที่ถูกต้อง ส่งผลกับการออกแบบ Facade อย่างไร

หลังจากขั้นตอนการออกแบบให้ Facade เป็นไปตาม Conceptual ที่คิดไว้แล้ว สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือการออกแบบและคิดวิธีการติดตั้ง เก็บรายละเอียดของงาน โดยการใช้แบบขยายเฉพาะจุด หรือ Typical Detail จะทำให้งานออกมาดูเนี้ยบขึ้น จบงานได้ง่ายขึ้น ตัดต่อชิ้นส่วนของวัสดุให้น้อยลง เพื่อลดขยะและประหยัดค่าใช้จ่าย และที่สำคัญคืองานติดตั้งจะทำได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น

Typical Detail นี้จะบอกรายละเอียดสำคัญในการติดตั้ง ทั้งขนาดโครงสร้างรับฟาซาด ลักษณะอุปกรณ์ที่ใช้ยึดเชื่อม ระยะการติดตั้ง ลำดับการติดตั้ง และการจบงาน การเข้ามุมที่ถูกต้องอย่างละเอียด จึงช่วยให้ทั้งนักออกแบบ ผู้รับเหมาและทีมช่างทำงานกันได้อย่างราบรื่น ยิ่ง Typical Detail ละเอียดมากเท่าไหร่ ฟาซาดที่ถูกติดตั้งก็จะยิ่งสมบูรณ์แบบได้มากขึ้นเท่านั้น

นอกจากนั้นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยและสำคัญเป็นอันดับต้นๆ คืองานออกแบบเชิงวิศวกรรม ที่จะช่วยซัพพอร์ตให้งานออกแบบฟาซาดเป็นไปได้จริง สามารถคงอยู่ในสภาวะแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นแรงลมจากฝนหรือพายุ หรือการ Renovate อาคารเดิมให้แข็งแรงคงทน ซึ่งต้องอาศัยทีมผู้เชี่ยวชาญวัสดุนั้นๆ ให้คำแนะนำดีเทลการติดตั้งมาตรฐาน การแนะนำการติดตั้งที่หน้างาน รวมถึงการออกแบบวิธีการติดตั้งเฉพาะโครงการนั้นๆ

และสุดท้ายคือเรื่องการติดตั้ง หากได้ช่างที่มีความเชี่ยวชาญในการติดตั้งวัสดุนั้นๆ มีมาตรฐานการทำงาน และความปลอดภัยด้วยทีมงานมืออาชีพ ก็จะทำให้มั่นใจได้อีกขั้นว่างาน Facade ที่เราต้องการจะออกมาสมบูรณ์แบบตรงกับความต้องการที่ตั้งใจไว้
 


ฟาซาด ไม่ใช่แค่เรื่องของเปลือกอาคาร

การนำวัสดุที่มีความโดดเด่นและถ่ายทอดถึง Concept ของโครงการ อาจจะต้องใช้วัสดุประเภทเดียวกันทั้งจากด้านนอกสู่ด้านใน ทำให้เกิดความรู้สึกต่อเนื่องและดึงดูดผู้คนให้เข้ามาใช้อาคารได้ดี

หากแต่การนำวัสดุตกแต่งภายในสู่ภายนอก อาจจะไม่สามารถทำได้ทุกชนิด ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงเรื่องความทนทานต่อสภาพอากาศ แดด ฝน เนื้อวัสดุทำจากอะไร มีกระบวนการขึ้นรูป เคลือบผิว ที่ช่วยปกป้องและเหมาะกับการใช้งานภายนอกในระยะยาวแค่ไหน ขอยกตัวอย่างผนังตกแต่ง KMEW ที่ DECAAR by SCG นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น วัสดุผลิตจากไฟเบอร์ซีเมนต์ ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะกับการใช้งานภายนอกอยู่แล้ว ทนแดด ทนฝน ทนปลวก และยังมีการเคลือบผิวปกป้องแดดฝนเพิ่มอีก 2 ชั้น ชั้นนอกสุดมีเทคโนโลยีทำความสะอาดตัวเองได้ ชั้นรองลงมามีเทคโนโลยีป้องกันสีซีดจากรังสี UV เป็นต้น แต่หากต้องการใช้ในงานภายในก็สามารถใช้ได้เช่นกัน

ซึ่งการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมจะช่วยให้มีความคงทนแข็งแรงของวัสดุ และส่งผลถึงความแข็งแรง และการซ่อมบำรุงที่ลดน้อยลงของงาน Facade อีกด้วย
 


ออกแบบฟาซาดยังไงให้เหมาะกับอาคารในประเทศไทย

การออกแบบ Facade ในเขตร้อนชื้น สามารถใช้หลักการออกแบบอาคาร Tropical Architecture

ประการที่หนึ่ง การสร้างร่มเงาให้กับอาคาร โดยการยื่นชายคาให้ยาวขึ้น การสร้าง Facade เพื่อป้องกันแดดตกกระทบกับตัวอาคารโดยตรง สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร และยังช่วยกันฝนอีกด้วย

ประการที่สอง คือการลดอุณหถูมิความร้อนสะสมของตัวอาคาร ซึ่งทำได้หลายวิธี การเลือกใช้วัสดุที่ลดการสะสมความร้อนและคายความร้อนได้ดีเมื่ออากาศเย็นลง จะทำให้บ้านไม่ร้อน และกินไฟจากการใช้พลังงานในการปรับอากาศ หรือจะเป็นการปลูกต้นไม้ ขุดบ่อน้ำ การปลูกพืชคลุมดิน เพื่อลดอุณหภูมิโดยรอบก่อนเข้าตัวอาคารได้เช่นกัน

ประการที่สาม คือการเพิ่ม Ventilation ช่วยในการระบายอากาศ เช่นการเปิดช่องเปิดในทิศที่มีการรับลม ทำให้ลมพัดเอาความร้อนออกจากตัวบ้าน ซึ่งในส่วนนี้จะขัดแย้งกับความเป็นส่วนตัว ก็สามารถเลือกใช้วัสดุที่กึ่งทึบกึ่งโปร่งจะช่วยในการพรางตา และไหลเวียนอาการได้ดี
 


ขจัดทุกปัญหางานฟาซาด ด้วยวัสดุและบริการจาก DECAAR by SCG

DECAAR by SCG ได้รวบรวมวัสดุตกแต่งงานฟาซาดเอาไว้ถึง 4 รูปแบบ สามารถตอบโจทย์งานฟาซาดได้อย่างครอบคลุมในทุกความต้องการ ทั้งที่ผลิตเองและ Partner กับผู้ผลิตที่เชื่อถือได้ ผ่านการทดสอบวัสดุและการติดตั้งแล้วว่ามีความทนทานและปลอดภัยกว่าอย่างแน่นอน

DECAAR by SCG ยังมีทีมผู้เชี่ยวชาญคอยเป็นเพื่อนคู่คิดให้กับสถาปนิก วางแผน ออกแบบและช่วยเลือกวัสดุที่ตรงตามโจทย์ที่ตั้งไว้ สำหรับผู้ที่สนใจ DECAAR by SCG มีบริการครบวงจรเรื่องงานฟาซาดอย่าง Facade Solution ที่มั่นใจได้ในมาตรฐานและความเป็นมืออาชีพในการให้บริการ ช่วยให้นักออกแบบและเจ้าของโครงการได้งานฟาซาดที่สวยดั่งใจได้อย่างแน่นอน

DECAAR by SCG (เดการ์ บาย เอสซีจี)

SOLUTION.DIVERSITY.DESIGN